หลักทั่วไป
1) อ่านโจทย์
2)
อ่านตัวเลือกของคำตอบ
3) หาข้อผิด 3 ข้อ
4)
กาข้อที่ถูกต้อง
สำหรับผมเอง
เป็นความสามารถเฉพาะตัว เนื่องจากอ่านหนังสือได้เร็วมาก
ผมจึงมักจะอ่านตัวเลือกที่เป็นคำตอบก่อน แล้วจึงไปอ่านโจทย์
การทำแบบนี้ ทำให้สามารถลดเวลาในการทำข้อสอบได้มาก
หลักการทำข้อสอบเรียงประโยค
1)
เรียงประโยคให้ข้อความอ่านแล้ว ได้ความหมายที่ถูกต้อง
2)
ทำตามคำสั่งของโจทย์ ที่ใช้เวลาในการทำน้อยที่สุด
ตัวอย่างที่ 1
โจทย์
: ข้อความใดอยู่ลําดับที่ 1
ก. ที่สําคัญก็มีดินและทราย ซึ่งกลายเป็นขี้เถ้าหลังจากถ่านหินเผาไหม้
ข. ซึ่งจะนําไปเจือปนอยู่ในโลหะที่ถลุง
ค. ในเนื้อของถ่านหิน
ยังมีสารอนินทรีย์เจือปนอีกหลายอย่าง
ง. และยังมีสารประกอบของกํามะถันและฟอสฟอรัส
วิเคราะห์
ข้อนี้
โจทย์ให้ต้องการหาข้อความที่อยู่ต้นประโยคเลย ดังนั้น เพื่อให้เป็นการประหยัดเวลาการทำในข้อนี้
และเอาเวลาที่เหลือไปใช้ในข้ออื่น
เมื่อเราหาข้อความแรกได้แล้ว ก็ไม่ต้องไปหาข้อความที่เหลือ
ต่อไปพิจารณาตัวเลือก คำว่า “ที่”
“ซึ่ง” “และ”
นั้น ไม่สามารถเป็นคำแรกของประโยคได้ เพราะเป็นสันธาน ที่มีหน้าที่เชื่อมคำ
หรือข้อความ หรือประโยค ดังนั้น จะต้องมีคำหรือข้อความ หรือประโยคมาก่อน
ดังนั้น
ในข้อนี้ เราสามารถชี้ชัดได้เลยว่า ข้อ ค. คือคำตอบที่ถูกต้อง
ตัวอย่างที่ 2
โจทย์
: ข้อความใดอยู่ลําดับที่ 3
ก. เป็นนักรบ ที่เร่รอนไปในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลสาบใบคาล
ข. ซึ่งปกครองจีนระหว่าง
พ.ศ. 1611 - 1949
ค. ในบันทึกเหตุการณ์ของราชวงศ์ถัง
ง. ได้กล่าวถึงพวกมองโกล
วิเคราะห์
ข้อนี้
โจทย์ให้ต้องการหาข้อความที่อยู่ในลำดับที่ 3 ดังนั้น
เราจึงจำเป็นต้องเรียงประโยคให้ได้ความหมายครบถ้วนเสียก่อน
ในตัวเลือกทั้ง
4 ตัวเลือกนั้น คำว่า “เป็น” “ซึ่ง” และ “ได้”
ไม่สามารถเป็นคำแรกของของประโยคได้
คำว่า “เป็น” เป็นคำกริยา
ซึ่งต้องคำนามเป็นประธานอยู่ข้างหน้า
คำว่า “ซึ่ง” เป็นคำเชื่อม
ที่ต้องมีข้อความอยู่ข้างหน้า
คำว่า “ได้กล่าวถึง” เป็นคำกริยา
ซึ่งต้องคำนามเป็นประธานอยู่ข้างหน้า
ดังนั้น
ประโยคนี้ ต้องขึ้นต้นด้วย ค. [ในบันทึกเหตุการณ์ของราชวงศ์ถัง] สำหรับข้อความต่อไป
เราต้องนำข้อความอื่นๆ มาลองเรียงดู ดังนี้
ค.
[ในบันทึกเหตุการณ์ของราชวงศ์ถัง] ก. [เป็นนักรบ ที่เร่รอนไปในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลสาบใบคาล]
จะเห็นว่า
ข้อความ ค.-ก. ไม่มีความต่อเนื่องกัน ความหมายเป็นไปไม่ได้
เหลือข้อความที่อาจจะเป็นไปได้ก็คือ ค.-ข. ค.-ง.
ค. [ในบันทึกเหตุการณ์ของราชวงศ์ถัง] ข. [ซึ่งปกครองจีนระหว่าง พ.ศ.
1611 – 1949]
ค. [ในบันทึกเหตุการณ์ของราชวงศ์ถัง] ง. [ได้กล่าวถึงพวกมองโกล]
ทั้ง 2
ข้อความด้านบนนั้น มีโอกาสถูกทั้งคู่ เราก็ต้องเรียงข้อความต่อไป
สมมุติว่า
เราเลือกข้อความ ค.-ง.
เนื้อหาที่เรียงต่อไป ก็ควรเป็นดังนี้
(การยกตัวอย่าง ค.-ง. ก่อน เนื่องจากผมเห็นว่า ข้อความนี้
น่าจะไม่ช่คำตอบที่ถูกต้อง)
ค.
[ในบันทึกเหตุการณ์ของราชวงศ์ถัง] ง. [ได้กล่าวถึงพวกมองโกล] ก. [เป็นนักรบ ที่เร่รอนไปในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลสาบใบคาล] ข. [ซึ่งปกครองจีนระหว่าง พ.ศ. 1611–1949]
ในกรณีนี้
จะเห็นได้ว่า คำขยายของคำว่า “ราชวงศ์ถัง” คือ [ซึ่งปกครองจีนระหว่าง
พ.ศ. 1611–1949]
ไม่ติดอยู่กับคำที่ถูกขยาย การเรียงแบบนี้ จึงไม่ถูกต้อง
ดังนั้น เราควรเรียงแบบนี้
ค. [ในบันทึกเหตุการณ์ของราชวงศ์ถัง] ข. [ซึ่งปกครองจีนระหว่าง
พ.ศ. 1611–1949] ง. [ได้กล่าวถึงพวกมองโกล] ก. [เป็นนักรบ
ที่เร่รอนไปในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลสาบใบคาล]
ดังนั้น
คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง.
ตัวอย่างที่ 3
โจทย์
: ข้อความใดอยู่ลําดับที่ 3
ก. เป็นนามพระราชทานโดยรัชกาลที่ 4
ข. ถือเป็นสิ่งพิมพ์ประเภทวารสารฉบับแรกของประเทศไทย
ค. ราชกิจจานุเบกษาเป็นคําสันสฤต
แปลว่า หนังสือเพ่งดูราชกิจ
ง. เริ่มออกฉบับแรกเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401
วิเคราะห์
ข้อนี้ โจทย์ให้ต้องการหาข้อความที่อยู่ในลำดับที่
3 ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องเรียงประโยคให้ได้ความหมายครบถ้วนเสียก่อน
ในตัวเลือกทั้ง
4 ตัวเลือกนั้น คำว่า “เป็น” “ถือเป็น” และ “เริ่มออก”
ไม่สามารถเป็นคำแรกของของประโยคได้
คำว่า “เป็น” เป็นคำเชื่อม ที่ต้องมีข้อความอยู่ข้างหน้า
คำว่า “ถือเป็น” เป็นคำกริยา
ซึ่งต้องมีคำนามเป็นประธานอยู่ข้างหน้า
คำว่า “เริ่มออก” เป็นคำกริยา
ซึ่งต้องมีข้อความมาก่อนหน้านี้
ดังนั้น
ประโยคนี้ ต้องขึ้นต้นด้วย ค. [ราชกิจจานุเบกษา
เป็นคําสันสฤต
แปลว่า หนังสือเพ่งดูราชกิจ] สำหรับข้อความต่อไป
เราต้องนำข้อความอื่นๆ มาลองเรียงดู ดังนี้
ค. [ราชกิจจานุเบกษาเป็นคําสันสฤต
แปลว่า หนังสือเพ่งดูราชกิจ] ก. [เป็นนามพระราชทานโดยรัชกาลที่
4]
ค. [ราชกิจจานุเบกษาเป็นคําสันสฤต
แปลว่า หนังสือเพ่งดูราชกิจ] ข. [ถือเป็นสิ่งพิมพ์ประเภทวารสารฉบับแรกของประเทศไทย]
ค.
[ราชกิจจานุเบกษาเป็นคําสันสฤต แปลว่า หนังสือเพ่งดูราชกิจ] ง. [เริ่มออกฉบับแรกเมื่อวันที่
15 มีนาคม พ.ศ. 2401]
ทั้ง 3
ข้อความนั้น เมื่ออ่านดูแล้ว เห็นว่า ข้อความ ค.–ง. ไม่ใช่คำตอบที่ถูก เพราะ
มีคำบอกเวลาอยู่ โดยสำนวนการเขียนภาษาไทยแล้ว
คำบอกเวลาอย่างนี้ ถ้าไม่อยู่หน้าประโยค ก็จะอยู่ท้ายประโยค
ดังนั้น คำต่อมา ควรจะเป็นคำว่า “เป็น” หรือ “ถือเป็น” ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกันมาก อย่างไรก็ดี คำว่า “ถือเป็น” น่าจะถูกต้องกว่า
เราก็เรียงข้อความทั้งหมดดู ดังนี้
ค. [ราชกิจจานุเบกษาเป็นคําสันสฤต แปลว่า หนังสือเพ่งดูราชกิจ] ข. [ถือเป็นสิ่งพิมพ์ประเภทวารสารฉบับแรกของประเทศไทย] ก. [เป็นนามพระราชทานโดยรัชกาลที่
4] ง. [เริ่มออกฉบับแรกเมื่อวันที่
15 มีนาคม พ.ศ. 2401]
ค. [ราชกิจจานุเบกษาเป็นคําสันสฤต แปลว่า หนังสือเพ่งดูราชกิจ] ก. [เป็นนามพระราชทานโดยรัชกาลที่
4]
ข. [ถือเป็นสิ่งพิมพ์ประเภทวารสารฉบับแรกของประเทศไทย] ง. [เริ่มออกฉบับแรกเมื่อวันที่
15 มีนาคม พ.ศ. 2401]
การเรียงทั้ง 2
แบบข้างต้นนั้น ถ้าพูดในทางภาษาศาสตร์แล้ว เราสามารถเรียงได้ทั้งสองแบบ
ตามที่คนเขียนต้องการ
แต่ในการทำข้อสอบนั้น
ผมเห็นว่า การเรียงแบบสุดท้ายถูกต้องกว่า เพราะข้อความที่ว่า [เริ่มออกฉบับแรกเมื่อวันที่
15 มีนาคม พ.ศ. 2401]
จะต้องอยู่ติดกับ “สิ่งพิมพ์” เพราะ เป็นคำขยายของคำนั้น
ดังนั้น ข้อนี้คำตอบที่ถูกต้องคือ
ข้อ ข.
ตัวอย่างที่ 4
โจทย์
: ข้อความใดอยู่ลําดับที่ 2
ก. ผู้มีอํานาจแต่งตั้ง
ซึ่งรู้อยู่แล้วว่า
ข. ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ
ก็ตาม
ค. ตนจะต้องพ้นจากตําแหน่งหน้าที่ราชการไป
ง. ไม่พึงแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนไว้ล่วงหน้า
วิเคราะห์
ข้อนี้ โจทย์ให้ต้องการหาข้อความที่อยู่ในลำดับที่
2 ดังนั้น เราอาจจะไม่จำเป็นต้องเรียงประโยคในครบก็ได้ เพราะ ถ้าหาข้อความแรกได้แล้ว
ก็น่าจะหาข้อความที่สองได้เอง
เมื่ออ่านตัวเลือกแล้ว
จะเห็นว่า ข้อ ข. ค. ง. ไม่สามารถเป็นข้อความแรกได้ ดังนั้น
ข้อความแรกในประโยคนี้ก็คือ ก. [ผู้มีอํานาจแต่งตั้ง ซึ่งรู้อยู่แล้วว่า]
สำหรับข้อความที่ตามมานั้นต้องเป็นข้อ
ค. เพราะ ความหมายบังคับไว้อย่างนั้น ดังนั้น โจทย์ข้อนี้ สามารถเรียงลำดับได้
ดังนี้
ก. [ผู้มีอํานาจแต่งตั้ง
ซึ่งรู้อยู่แล้วว่า] ค. [ตนจะต้องพ้นจากตําแหน่งหน้าที่ราชการไป] ง. [ไม่พึงแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนไว้ล่วงหน้า] ข. [ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ
ก็ตาม]
ดังนั้น
ข้อนี้คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค.
ตัวอย่างที่ 5
โจทย์
: ข้อความใดอยู่ลําดับที่ 4
ก.
ซึ่งสามารถยังยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพอีกกลุ่มหนึ่ง
ข.
เช่น
ยากลุ่มเพนนิซิลลิน
เดตราซัยคลีน เป็นต้น
ค.
ยาปฏิชีวนะเป็นสารประกอบทางเคมีใดๆ
ที่ผลิตหรือสร้างขึ้นโดยจุลชีพ
ง.
หรือไปขัดขวาง หรือไปทําลายจุลชีพกลุ่มนั้นๆ
ข้อนี้
โจทย์ให้ต้องการหาข้อความที่อยู่ในลำดับที่ 4 ดังนั้น
เราจึงจำเป็นต้องเรียงประโยคให้ได้ความหมายครบถ้วนเสียก่อน
อย่างไรก็ดี ถ้ามีเวลาน้อยและต้องการ “เดา” ผมเห็นว่า ข้อ ข. นั้น น่าจะมีโอกาสเป็นข้อความสุดท้ายมากที่ เพราะ
มีคำว่า “เป็นต้น” อยู่ท้ายประโยค การเขียนภาษาไทย มักจะเป็นแบบนี้
อย่างไรก็ดี เราลองมาเรียงข้อความดู
ในตัวเลือกทั้ง
4 ตัวเลือกนั้น คำว่า “ซึ่ง” “เช่น” และ “หรือ”
ไม่สามารถเป็นคำแรกของของประโยคได้
คำว่า “ซึ่ง” เป็นคำเชื่อม
ที่ต้องมีข้อความอยู่ข้างหน้า
คำว่า “เช่น” เป็นคำที่จะยกตัวอย่าง ดังนั้น
จะต้องมีข้อความอยู่ก่อนหน้านี้
คำว่า “หรือ” เป็นเชื่อม
ซึ่งต้องมีข้อความมาก่อนหน้านี้
ดังนี้ ข้อ ค.
จึงจะต้องเป็นข้อความแรก และประโยคนี้ ควรเรียง ดังนี้
ค. [ยาปฏิชีวนะเป็นสารประกอบทางเคมีใดๆ
ที่ผลิตหรือสร้างขึ้นโดยจุลชีพ] ก. [ซึ่งสามารถยังยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพอีกกลุ่มหนึ่ง] ง. [หรือไปขัดขวาง หรือไปทําลายจุลชีพกลุ่มนั้นๆ] ข. [เช่น ยากลุ่มเพนนิซิลลิน
เดตราซัยคลีน เป็นต้น]
ดังนั้น
ข้อนี้คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.
อาจารย์ครับตัวอย่างที่สองนี้ น่าจะตอบ ง นะครับ คือผมเห็นหลายเว็บๆเฉลยผิดเข้าใจว่าลอกต่อๆกันมา แต่ของอารจารย์ไม่ใช่เพราะ อ่านแล้วคำตอบคือ ง แต่ตอนเฉลยอาจารย์เลือกตอบ ก ซะงั้น
ตอบลบอ้างอิงจาก
"ในบันทึกเหตุการณ์ของราชวงศ์ถัง (พ.ศ.1161 - 1449) ได้กล่าวถึงพวกมองโกลว่า เป็นนักรบที่เร่ร่อนไปในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ของทะเลสาบไบคาล"
Source http://www.baanjomyut.com/library/knowledge_of_encyclopedias/620.html
ขอบคุณมาก พิมพ์ผิดจริงๆ
ลบถ้าคุณกำลังเตรียมตัวสอบ ผมว่าคุณสอบได้แน่ๆ
อย่างไรก็ดี อ่านบล็อกของผมนั้น อย่าจำข้อสอบ "แต่ให้จำวิธีการทำข้อสอบ"
เพราะข้อสอบไม่น่าจะออกซ้ำๆ เมื่อเรามีวิธีการทำข้อสอบที่ถูกต้อง รวดเร็ว เราก็จะสอบได้
ขอบคุณอาจารย์มากครับ ผมจะรับเอาไปปฏิบัติครับ ขอให้สอบติดด้วยเถอะ!!! สาธุ
ลบขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีๆแบบนี้ค่ะ
ตอบลบบล็อกนี้ทำให้เข้าใจมากขึ้นจริงๆค่ะ
ขอบคุณเหมือนกันสำหรับความคิดเห็น จะได้รู้ว่าบล็อกมีประโยชน์หรือไม่
ตอบลบขอบคุณสำหรับความรู้ดีดีที่มอบให้ค่ะ
ตอบลบขอบคุณมากค่ะ สำหรับตัวอย่างโจทย์ค่ะ
ตอบลบสวสดีคับ
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ