บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบการเรียงประโยค แบบเรียงตัวเลข ชุดที่ 2

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

โจทย์ข้อที่ 1
1. นอกจากพระรัตนตรัย
2. อย่างไรก็ตาม
3. ก็ยังคงมีแทรกอยู่ทั่วไป อาทิ การนับถือเจ้าที่เจ้าป่า
4. ความเชื่อผีสางเทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ
ก. 1-4-3-2
ข. 4-1-3-2
ค. 2-4-3-1
ง. 2-1-3-4
จ. 3-1-2-4

โจทย์ข้อที่ 2
1. ส่วนใหญ่เป็นคนขยันขันแข็ง
2. ชาวนาภูมิภาคตะวันตก
3. นอกจากมีอาชีพทำนาเป็นหลักแล้ว
4. มักจะมีอาชีพรอง คือทำน้ำตาลจากมะพร้าว ทำไร่
ก. 1-2-3-4
ข. 2-1-3-4
ค.  3-2-4-1
ง. 2-3-4-1
จ. 4-1-2-3

โจทย์ข้อที่ 3
1. กลอนนิยมใช้คำพื้น
2. เพื่อช่วยให้กลอนมีรสชาติเปลี่ยนแปลงกันบ้าง
3. ที่ใช้คำพูดและเขียนสำนวนร้อยแก้ว
4. บางครั้งกวีพลิกแพลงการใช้คำให้พิสดาร
ก. 4-1-3-2
ข. 1-3-4-2
ค. 1-3-2-4
ง. 2-4-3-1
จ. 3-1-2-4

โจทย์ข้อที่ 4
1. แต่ปริมาณสินค้ามีน้อย ความต้องการซื้อสินค้ามีมาก
2. เงินเฟ้อเกิดจากปริมาณเงินในมือประชาชนมีมาก
3. แต่สินค้าขาดแคลน
4. ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ก. 2-3-1-4
ข. 2-1-3-4
ค.  2-3-1-4
ง. 1-2-3-4
จ. 3-1-2-4

โจทย์ข้อที่ 5
1. ก็หาได้เป็นสมบัติของผู้แต่งต่อไปไม่
2. วรรณกรรมนั้น
3. แต่ได้กลายเป็นสมบัติของผู้อ่าน
4. เมื่อผู้แต่งได้ตัดสินใจที่จะเผยแพร่แล้ว
ก. 2-4-1-3
ข. 2-4-3-1
ค. 4-2-1-3
ง. 4-1-2-3
จ. 3-1-2-4

เฉลย
โจทย์ข้อที่ 1
1. นอกจากพระรัตนตรัย
2. อย่างไรก็ตาม
3. ก็ยังคงมีแทรกอยู่ทั่วไป อาทิ การนับถือเจ้าที่เจ้าป่า
4. ความเชื่อผีสางเทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ
ก. 1-4-3-2
ข. 4-1-3-2
ค. 2-4-3-1
ง. 2-1-3-4
จ. 3-1-2-4

วิเคราะห์
เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ข้อความที่เป็นลำดับแรกไม่ได้ มี 1 ข้อความคือ 3. ก็ยังคงมีแทรกอยู่ทั่วไป อาทิ การนับถือเจ้าที่เจ้าป่า
ต่อไปให้อ่านตัวเลือก จะเห็นว่า ข้อ จ. ผิดแน่ๆ

ต่อไป ข้อความที่เป็นลำดับท้ายไม่ได้ มี 2 ข้อความคือ
1. นอกจากพระรัตนตรัย
2. อย่างไรก็ตาม

ดังนั้น ข้อ ก. ข้อ ข. และ ข้อ ค. ผิดแน่ๆ เหลือเพียงข้อ ง. เพียงข้อเดียวที่ถูกต้อง

โจทย์ข้อที่ 2
1. ส่วนใหญ่เป็นคนขยันขันแข็ง
2. ชาวนาภูมิภาคตะวันตก
3. นอกจากมีอาชีพทำนาเป็นหลักแล้ว
4. มักจะมีอาชีพรอง คือทำน้ำตาลจากมะพร้าว ทำไร่
ก. 1-2-3-4
ข. 2-1-3-4
ค. 3-2-4-1
ง. 2-3-4-1
จ. 4-1-2-3

วิเคราะห์
เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ข้อความที่เป็นลำดับแรกได้ มี 1 ข้อความคือ 2. ชาวนาภูมิภาคตะวันตก
ต่อไปให้อ่านตัวเลือก จะเห็นว่า ข้อ ก. ข้อ ค. และ ข้อ จ. ผิดแน่ๆ เหลือให้เลือกอีกเพียง 2 ข้อ คือ ข้อ ข. กับ ข้อ ง.

ข้อ ข. ลงท้ายด้วยข้อ 4. มักจะมีอาชีพรอง คือทำน้ำตาลจากมะพร้าว ทำไร่
ข้อ ง. ลงท้ายด้วยข้อ 1. ส่วนใหญ่เป็นคนขยันขันแข็ง

จะเห็นว่า ข้อ 1 ไม่ควรอยู่ท้ายของข้อความ ดังนั้น ข้อนี้ ข้อ ข. เป็นข้อที่ถูกต้อง

โจทย์ข้อที่ 3
1. กลอนนิยมใช้คำพื้น
2. เพื่อช่วยให้กลอนมีรสชาติเปลี่ยนแปลงกันบ้าง
3. ที่ใช้คำพูดและเขียนสำนวนร้อยแก้ว
4. บางครั้งกวีพลิกแพลงการใช้คำให้พิสดาร
ก. 4-1-3-2
ข. 1-3-4-2
ค. 1-3-2-4
ง. 2-4-3-1
จ. 3-1-2-4

วิเคราะห์
เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ข้อความที่เป็นลำดับแรกไม่ได้ มี 3 ข้อความคือ
2. เพื่อช่วยให้กลอนมีรสชาติเปลี่ยนแปลงกันบ้าง
3. ที่ใช้คำพูดและเขียนสำนวนร้อยแก้ว
4. บางครั้งกวีพลิกแพลงการใช้คำให้พิสดาร

ต่อไปให้อ่านตัวเลือก จะเห็นว่า ข้อ ก. ข้อ ง. และ ข้อ จ. ผิดแน่ๆ เหลือให้เลือกอีกเพียง 2 ข้อ คือ ข้อ ข. กับ ข้อ ค.
สำหรับข้อความที่เป็นข้อความลำดับแรกได้คือ 1. กลอนนิยมใช้คำพื้น ดังนั้น ก็ช่วยพิสูจน์ว่า ข้อถูกต้องเป็นข้อ ข. หรือ ข้อ ค.

ต่อไป เราต้องลองเรียงลำดับของข้อความเพื่อพิจารณา

แบบข้อ ข.  [1-3-4-2]
1. [กลอนนิยมใช้คำพื้น] 3. [ที่ใช้คำพูดและเขียนสำนวนร้อยแก้ว] 4. [บางครั้งกวีพลิกแพลงการใช้คำให้พิสดาร] 2. [เพื่อช่วยให้กลอนมีรสชาติเปลี่ยนแปลงกันบ้าง]

แบบข้อ ค. [1-3-2-4]
1. [กลอนนิยมใช้คำพื้น] 3. [ที่ใช้คำพูดและเขียนสำนวนร้อยแก้ว] 2. [เพื่อช่วยให้กลอนมีรสชาติเปลี่ยนแปลงกันบ้าง] 4. [บางครั้งกวีพลิกแพลงการใช้คำให้พิสดาร]

จะเห็นได้ว่า ข้อความแบบข้อ ข. อ่านได้ราบรื่น ไม่สะดุด ข้อ ข. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

โจทย์ข้อที่ 4
1. แต่ปริมาณสินค้ามีน้อย ความต้องการซื้อสินค้ามีมาก
2. เงินเฟ้อเกิดจากปริมาณเงินในมือประชาชนมีมาก
3. แต่สินค้าขาดแคลน
4. ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ก. 2-3-1-4
ข. 2-1-3-4
ค. 2-3-4-1
ง. 1-2-3-4
จ. 3-1-2-4

วิเคราะห์
เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ข้อความที่เป็นลำดับแรกไม่ได้ มี 3 ข้อความคือ
1. แต่ปริมาณสินค้ามีน้อย ความต้องการซื้อสินค้ามีมาก
3. แต่สินค้าขาดแคลน
4. ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

เมื่ออ่านตัวเลือก จะเห็นว่า ข้อ ง. กับ ข้อ จ. ผิดแน่ๆ เหลือให้เลือกอีก 3 ข้อ
สำหรับข้อความที่เป็นลำดับแรกได้มี 1 ข้อความคือ 2. เงินเฟ้อเกิดจากปริมาณเงินในมือประชาชนมีมาก
เมื่ออ่านตัวเลือก จะเห็นว่าข้อที่มีโอกาสถูกคือ ข้อ ก. ข้อ ข. และ ข้อ ค. ซึ่งก็สนับสนุนกับเกณฑ์ที่หาข้อความที่เป็นลำดับแรกไม่ได้ข้างต้น

ข้อความที่เป็นลำดับท้ายระหว่าง
1. แต่ปริมาณสินค้ามีน้อย ความต้องการซื้อสินค้ามีมาก
4. ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
จะเห็นว่า ข้อ 4 น่าจะถูกกว่า เพราะ ข้อ 1 นั้น ยังต้องการข้อความมาต่อท้ายอีก  เหลือตัวเลือกให้พิจารณา 2 ข้อ เราต้องลองเรียงลำดับของข้อความเพื่อพิจารณา

แบบข้อ ก. [2-3-1-4]
2. [เงินเฟ้อเกิดจากปริมาณเงินในมือประชาชนมีมาก] 3. [แต่สินค้าขาดแคลน] 1. [แต่ปริมาณสินค้ามีน้อย ความต้องการซื้อสินค้ามีมาก] 4. [ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว]

แบบข้อ ข. [2-1-3-4]
2. [เงินเฟ้อเกิดจากปริมาณเงินในมือประชาชนมีมาก] 1. [แต่ปริมาณสินค้ามีน้อย ความต้องการซื้อสินค้ามีมาก] 3. [แต่สินค้าขาดแคลน] 4. [ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว]
จะเห็นได้ว่า ข้อความแบบข้อ ข. อ่านได้ราบรื่น ไม่สะดุด ข้อ ข. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

โจทย์ข้อที่ 5
1. ก็หาได้เป็นสมบัติของผู้แต่งต่อไปไม่
2. วรรณกรรมนั้น
3. แต่ได้กลายเป็นสมบัติของผู้อ่าน
4. เมื่อผู้แต่งได้ตัดสินใจที่จะเผยแพร่แล้ว
ก. 2-4-1-3
ข. 2-4-3-1
ค. 4-2-1-3
ง. 4-1-2-3
จ. 3-1-2-4

วิเคราะห์
เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ข้อความที่เป็นลำดับแรกไม่ได้ มี 2 ข้อความคือ
1. ก็หาได้เป็นสมบัติของผู้แต่งต่อไปไม่
3. แต่ได้กลายเป็นสมบัติของผู้อ่าน

ต่อไปให้อ่านตัวเลือก จะเห็นว่า ข้อ จ. ผิดแน่ๆ เหลือตัวเลือกให้พิจารณา 4 ตัวเลือก
เมื่อพิจารณาข้อความแรกของตัวเลือกที่เหลือมี 2 ข้อความคือ
2. วรรณกรรมนั้น
4. เมื่อผู้แต่งได้ตัดสินใจที่จะเผยแพร่แล้ว

เมื่อพิจารณาในด้านภาษาระดับข้อความ (Discourse) ซึ่งเป็นภาษาระดับที่สูงกว่าประโยค [ภาษาระดับนี้ พวกมีอาชีพติวสอบไม่ค่อยรู้จัก ต้องเป็นผู้เรียนภาษาศาสตร์จึงจะรู้และเข้าใจ]
ภาษาไทยมีโครงสร้างของภาษาเป็น Topic + Comment คือ มีเรื่องมาก่อน ต่อมาจึงเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น
ยกตัวอย่างเช่น
[1] ฉันชอบทุเรียน 
[2] ทุเรียน ฉันชอบ
ประโยค [1] เป็นโครงสร้างภาษาในระดับประโยค
ประโยค [2] เป็นโครงสร้างภาษาในระดับข้อความ

จากหลักการดังกล่าว ข้อ 2. วรรณกรรมนั้น จึงน่าจะเป็นข้อความแรก ดังนั้น มีตัวเลือกให้พิจารณาอีก 2 ตัวเลือกคือ ข้อ ก. กับ ข้อ ข.
เราต้องลองเรียงลำดับของข้อความเพื่อพิจารณา

แบบข้อ ก. [2-4-1-3]
2. [วรรณกรรมนั้น] 4. [เมื่อผู้แต่งได้ตัดสินใจที่จะเผยแพร่แล้ว] 1. [ก็หาได้เป็นสมบัติของผู้แต่งต่อไปไม่] 3. [แต่ได้กลายเป็นสมบัติของผู้อ่าน]

แบบข้อ ข. [2-4-3-1]
2. [วรรณกรรมนั้น] 4. [เมื่อผู้แต่งได้ตัดสินใจที่จะเผยแพร่แล้ว] 3. [แต่ได้กลายเป็นสมบัติของผู้อ่าน] 1. [ก็หาได้เป็นสมบัติของผู้แต่งต่อไปไม่]

จะเห็นได้ว่า ข้อความแบบข้อ ก. อ่านได้ราบรื่น ไม่สะดุด ข้อ ก. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น