บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบการเรียงประโยค แบบเรียงตัวเลข ชุดที่ 4


ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

โจทย์ข้อที่ 1
1. เป็นวันขึ้นปีใหม่
2. โบราณเรานับเอาวันแรมค่ำเดือนอ้ายของทุกปี
3. การกำหนดวันที่ 1 มกราคม
4. นับว่าใกล้เคียงกับคติโบราณ
ก. 2-1-3-4
ข. 2-1-3-4
ค. 3-1-2-4
ง. 2-1-4-3
จ. 4-2-1-3

โจทย์ข้อที่ 2
1. ใต้ถุนบ้านไม้ 2 ชั้นเล็กๆ เมื่อมอมโตขนาดคลานได้
2. เมื่อคลอดแล้วแม่มันก็พากันมาอาศัย
3. แม่มันก็จากไป
4. มอมเป็นชื่อหมาตัวหนึ่ง พ่อเป็นพันธ์อัลเซเชี่ยน แม่เป็นหมาพันธ์ไทย
ก. 2-1-3-4
ข. 2-4-1-3
ค. 4-2-1-3
ง. 4-1-3-2
จ. 3-4-2-1

โจทย์ข้อที่ 3
1. และมีความดุร้ายมาก
2. สัตว์ป่าที่เป็นสัตว์สี่เท้าประเภทกินเนื้อ
3. เรียกว่าสิงโต
4. เขียนสิงห์ไม่มีตัวการันต์
ก. 2-1-4-3-
ข. 2-4-1-3
ค. 2-4-3-1
ง. 2-1-3-4
จ. 2-3-1-4

โจทย์ข้อที่ 4
1. สะกดเป็นคำกริยา
2. เช่น สะกดใจ สะกดความโกรธ
3. มีความหมายว่ากลั้นไว้ ข่มไว้
4. มีความหมายหลายอย่าง
ก. 1-3-4-2
ข. 1-4-2-3
ค. 1-4-3-2
ง. 1-3-2-4
จ. 1-2-4-3

โจทย์ข้อที่ 5
1. ต่อมาคำว่ามงกุฎ
2. ใช้หมายถึงเครื่องประดับศีรษะ
3. ใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น คือ
4. ที่มีรูปร่างต่างๆ กัน
ก.  1-3-4-2
ข. 1-4-2-3
ค. 1-4-3-2
ง. 1-3-2-4
จ. 1-2-3-4

เฉลย
โจทย์ข้อที่ 1
1. เป็นวันขึ้นปีใหม่
2. โบราณเรา นับเอาวันแรมค่ำเดือนอ้ายของทุกปี
3. การกำหนดวันที่ 1 มกราคม
4. นับว่า ใกล้เคียงกับคติโบราณ
ก. 2-3-1-4
ข. 2-1-3-4
ค. 3-1-2-4
ง. 2-1-4-3
จ. 4-2-1-3

วิเคราะห์
เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ข้อความที่เป็นลำดับแรกไม่ได้ มี 2 ข้อความคือ
1. เป็นวันขึ้นปีใหม่
4. นับว่า ใกล้เคียงกับคติโบราณ
ต่อไปให้อ่านตัวเลือก จะเห็นว่า ข้อ จ. ผิดแน่ๆ
ตัวเลือก 4 ตัวเลือกที่เหลือ มีข้อ 2 กับ ข้อ 3 เป็นข้อความแรก และมีข้อ 3 กับข้อ 4 เป็นข้อความสุดท้าย
เมื่อดูข้อความแรกระหว่างข้อ 2 กับ ข้อ 3 มีโอกาสเป็นข้อความแรกได้ทั้งคู่ ดังนั้น เราควรมาพิจารณาข้อความท้ายระหว่าง ข้อ 3 กับข้อ 4 ก่อน
3. การกำหนดวันที่ 1 มกราคม
4. นับว่า ใกล้เคียงกับคติโบราณ
เมื่อพิจารณาในด้านความหมาย ข้อ 3 ไม่ควรเป็นข้อความสุดท้าย ดังนั้น ข้อ ง. ผิดแน่นอน เหลือตัวเลือกให้พิจารณา 3 ข้อ คือ ข้อ ก. ข้อ ข. และ ข้อ ค.
เราต้องเรียงข้อความเพื่อพิจารณากัน
แบบข้อ ก.  [2-3-1-4]
2. [โบราณเรา นับเอาวันแรมค่ำเดือนอ้ายของทุกปี] 3. [การกำหนดวันที่ 1 มกราคม] 1. [เป็นวันขึ้นปีใหม่] 4. [นับว่า ใกล้เคียงกับคติโบราณ]
แบบข้อ ข.  [2-1-3-4]
2. [โบราณเรา นับเอาวันแรมค่ำเดือนอ้ายของทุกปี] 1. [เป็นวันขึ้นปีใหม่] 3. [การกำหนดวันที่ 1 มกราคม] 4. [นับว่า ใกล้เคียงกับคติโบราณ]
แบบข้อ ค.  [3-1-2-4]
3. [การกำหนดวันที่ 1 มกราคม] 1. [เป็นวันขึ้นปีใหม่] 2. [โบราณเรา นับเอาวันแรมค่ำเดือนอ้ายของทุกปี] 4. [นับว่า ใกล้เคียงกับคติโบราณ]
จะเห็นว่า ข้อ ข อ่านได้ราบรื่นไม่สะดุด ข้อ ข จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง 

โจทย์ข้อที่ 2
1. ใต้ถุนบ้านไม้ 2 ชั้นเล็กๆ เมื่อมอมโตขนาดคลานได้
2. เมื่อคลอดแล้ว แม่มันก็พากันมาอาศัย
3. แม่มันก็จากไป
4. มอมเป็นชื่อหมาตัวหนึ่ง พ่อเป็นพันธ์อัลเซเชี่ยน แม่เป็นหมาพันธ์ไทย
ก. 2-1-3-4
ข. 2-4-1-3
ค. 4-2-1-3
ง. 4-1-3-2
จ. 3-4-2-1

วิเคราะห์
เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ในด้านโครงสร้างประโยค ทุกข้อความสามารถเป็นข้อความแรกได้ทั้งหมด ดังนั้น เราต้องพิจารณาที่ความหมายของข้อความต่างๆ
ข้อความทั้ง 4 ข้อความนั้น ข้อ 4. มอมเป็นชื่อหมาตัวหนึ่ง พ่อเป็นพันธ์อัลเซเชี่ยน แม่เป็นหมาพันธ์ไทย มีโอกาสเป็นข้อความแรกได้
ดังนั้น ข้อที่มีโอกาสเป็นข้อถูกมี 2 ข้อ คือ ข้อ ค. กับ ข้อ ง.
เราลองมาเรียงข้อความเพื่อพิจารณากัน
แบบข้อ ค.  [4-2]
4. [มอมเป็นชื่อหมาตัวหนึ่ง พ่อเป็นพันธ์อัลเซเชี่ยน แม่เป็นหมาพันธ์ไทย] 2. [เมื่อคลอดแล้ว แม่มันก็พากันมาอาศัย]
แบบข้อ ง. [4-1]
4. [มอมเป็นชื่อหมาตัวหนึ่ง พ่อเป็นพันธ์อัลเซเชี่ยน แม่เป็นหมาพันธ์ไทย] 1. [ใต้ถุนบ้านไม้ 2 ชั้นเล็กๆ เมื่อมอมโตขนาดคลานได้]
จะเห็นว่า ข้อ ค. อ่านได้ราบรื่นไม่สะดุด ข้อ ค. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง 

โจทย์ข้อที่ 3
1. และมีความดุร้ายมาก
2. สัตว์ป่าที่เป็นสัตว์สี่เท้าประเภทกินเนื้อ
3. เรียกว่า สิงโต
4. เขียนสิงห์ไม่มีตัวการันต์
ก. 2-1-4-3-
ข. 2-4-1-3
ค. 2-4-3-1
ง. 2-1-3-4
จ. 2-3-1-4

วิเคราะห์
เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ข้อความที่เป็นลำดับแรกของทุกข้อคือ ข้อ 2. สัตว์ป่าที่เป็นสัตว์สี่เท้าประเภทกินเนื้อ
ข้อความในลำดับต่อไป ในตัวเลือกมีข้อ 1 ข้อ 4 และ ข้อ 3 เราลองมาเรียงข้อความเพื่อพิจารณากัน
แบบข้อ ก. กับ ข้อ ง.  [2-1]
2. [สัตว์ป่าที่เป็นสัตว์สี่เท้าประเภทกินเนื้อ] 1. [และมีความดุร้ายมาก]
แบบข้อ ข. กับ ข้อ ค. [2-4]
2. [สัตว์ป่าที่เป็นสัตว์สี่เท้าประเภทกินเนื้อ] 4. [เขียนสิงห์ไม่มีตัวการันต์]
แบบข้อ จ. [2-3]
2. [สัตว์ป่าที่เป็นสัตว์สี่เท้าประเภทกินเนื้อ] 3. [เรียกว่า สิงโต]
จะเห็นได้ว่า ข้อความแบบข้อ ก. กับข้อ ข. อ่านได้ราบรื่น ไม่สะดุด ข้อ ก. กับ ข้อ ข. จึงมีโอกาสเป็นข้อถูก
เราต้องเรียงข้อความกันต่อ
แบบข้อ ก.  [2-1-4-3]
2. [สัตว์ป่าที่เป็นสัตว์สี่เท้าประเภทกินเนื้อ] 1. [และมีความดุร้ายมาก] 4. [เขียนสิงห์ไม่มีตัวการันต์] 3. [เรียกว่า สิงโต]
แบบข้อ ง.  [2-1-3-4]
2. [สัตว์ป่าที่เป็นสัตว์สี่เท้าประเภทกินเนื้อ] 1. [และมีความดุร้ายมาก] 3. [เรียกว่า สิงโต] 4. [เขียนสิงห์ไม่มีตัวการันต์]
จะเห็นได้ว่า ข้อความแบบข้อ ง. อ่านได้ราบรื่น ไม่สะดุด ข้อ ง. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

โจทย์ข้อที่ 4
1. สะกดเป็นคำกริยา
2. เช่น สะกดใจ สะกดความโกรธ
3. มีความหมายว่า กลั้นไว้ ข่มไว้
4. มีความหมายหลายอย่าง
ก. 1-3-4-2
ข. 1-4-2-3
ค. 1-4-3-2
ง. 1-3-2-4
จ. 1-2-4-3

วิเคราะห์
เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ข้อความที่เป็นลำดับแรกของทุกข้อคือ ข้อ 1. สะกดเป็นคำกริยา
ต่อไป เราควรดูว่า ข้อความใดเป็นข้อความสุดท้ายไม่ได้
2. เช่น สะกดใจ สะกดความโกรธ
3. มีความหมายว่า กลั้นไว้ ข่มไว้
4. มีความหมายหลายอย่าง
ข้อ 2 นั้น ไม่ควรเป็นข้อความสุดท้าย คือ ต้องมีข้อความมาขยายความอีก และ ข้อ 4 ก็เช่นเดียวกัน ไม่ควรเป็นข้อความสุดท้าย เพราะ ต้องมีข้อความมาขยายความ
ดังนั้น ข้อที่มีโอกาสถูกคือ ข้อ ข. กับ ข้อ จ.
เรามาลองเรียงลำดับของข้อความเพื่อพิจารณา
แบบข้อ ข. [1-4-2-3]
1. [สะกดเป็นคำกริยา] 4. [มีความหมายหลายอย่าง] 2. [เช่น สะกดใจ สะกดความโกรธ] 3. [มีความหมายว่า กลั้นไว้ ข่มไว้]
แบบข้อ จ. [1-2-4-3]
1. [สะกดเป็นคำกริยา] 2. [เช่น สะกดใจ สะกดความโกรธ] 4. [มีความหมายหลายอย่าง] 3. [มีความหมายว่า กลั้นไว้ ข่มไว้]
จะเห็นได้ว่า ข้อความแบบข้อ ข. อ่านได้ราบรื่น ไม่สะดุด ข้อ ข. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

โจทย์ข้อที่ 5
1. ต่อมาคำว่า มงกุฎ
2. ใช้หมายถึงเครื่องประดับศีรษะ
3. ใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น คือ
4. ที่มีรูปร่างต่างๆ กัน
ก. 1-3-4-2
ข. 1-4-2-3
ค. 1-4-3-2
ง. 1-3-2-4
จ. 1-2-3-4

วิเคราะห์
เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ข้อความที่เป็นลำดับแรกของทุกข้อคือ ข้อ 1. ต่อมาคำว่า มงกุฎ
ต่อไป เราควรดูว่า ข้อความใดเป็นข้อความสุดท้ายไม่ได้
2. ใช้หมายถึงเครื่องประดับศีรษะ
3. ใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น คือ
4. ที่มีรูปร่างต่างๆ กัน
จะเห็นว่า ข้อ 4 ควรเป็นข้อความสุดท้ายได้ ข้อ 2 กับ ข้อ 3 ยังต้องมีข้อความมาอธิบายและขยายความอีก
ดังนั้น ข้อที่มีโอกาสเป็นข้อถูก คือ ข้อ ง. กับ ข้อ จ.
เราต้องลองเรียงลำดับของข้อความเพื่อพิจารณา
แบบข้อ ง. [1-3-2-4]
1. [ต่อมาคำว่า มงกุฎ] 3. [ใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น คือ] 2. [ใช้หมายถึงเครื่องประดับศีรษะ] 4. [ที่มีรูปร่างต่างๆ กัน]
แบบข้อ จ. [1-2-3-4]
1. [ต่อมาคำว่า มงกุฎ] 2. [ใช้หมายถึงเครื่องประดับศีรษะ] 3. [ใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น คือ] 4. [ที่มีรูปร่างต่างๆ กัน]
จะเห็นได้ว่า ข้อความแบบข้อ ง. อ่านได้ราบรื่น ไม่สะดุด ข้อ ง. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น