บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

หลักการทำข้อสอบ

หลักทั่วไป
1)  อ่านโจทย์
2)  อ่านตัวเลือกของคำตอบ
3)  หาข้อผิด 3 ข้อ
4)  กาข้อที่ถูกต้อง

สำหรับผมเอง เป็นความสามารถเฉพาะตัว เนื่องจากอ่านหนังสือได้เร็วมาก ผมจึงมักจะอ่านตัวเลือกที่เป็นคำตอบก่อน แล้วจึงไปอ่านโจทย์
การทำแบบนี้ทำให้สามารถลดเวลาในการทำข้อสอบได้มาก

หลักการทำข้อสอบเรียงประโยคแบบเรียงตัวเลข
1) อ่านตัวเลือก พิจารณาว่า ข้อความใดเป็นลำดับแรกได้ และเป็นลำดับแรกไม่ได้ ข้อความใดเป็นลำดับท้ายได้ และเป็นลำดับท้ายไม่ได้
2) ข้อความที่เป็นลำดับแรกได้ แต่ในตัวเลือกอยู่ลำดับอื่น แสดงว่าข้อนั้นผิด
3) ข้อความเป็นลำดับแรกไม่ได้ แต่ในตัวเลือกอยู่ลำดับแรก แสดงว่าข้อนั้นผิด

ตัวอย่างที่ 1
โจทย์ : 1. เป็นจำนวนมาก 2. รัฐและประชาชน 3.ในท้องถิ่นต่างๆ 4. ได้รวมกันจัดตั้งโรงเรียน
ก.  2 4 1 3
ข.  1 2 3 4
ค.  2 3 4 1
ง.  1 4 2 3
จ.  4 3 2 1

วิเคราะห์
เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ข้อความที่เป็นลำดับแรกไม่ได้ มี 2 ข้อคือ
1.  เป็นจำนวนมาก
4.  ได้รวมกันจัดตั้งโรงเรียน
ข้อความทั้ง 2 ข้อนั้น ต้องมีข้อความมาก่อนหน้า ถึงจะได้ความหมายที่ถูกต้อง

ต่อไปให้อ่านตัวเลือก จะเห็นว่า ข้อ ข. ข้อ ง. และ ข้อ จ. ผิดแน่ๆ เหลือให้เลือกอีกเพียง 2 ข้อ คือ ข้อ ก. กับ ข้อ ค.

พิจารณาแบบด่วน ในกรณีที่เวลาเหลือน้อย
เมื่อพิจารณาข้อ 1. [เป็นจำนวนมาก] ซึ่งอยู่ท้ายสุดของข้อ ค กับ 3. [ในท้องถิ่นต่างๆ] ซึ่งอยู่ท้ายสุดของข้อ ค.
จะเห็นว่า คำว่า 3. [ในท้องถิ่นต่างๆ] ไม่ควรอยู่ท้ายประโยค เพราะ เนื้อความยังไม่จบสิ้น และ 1. [เป็นจำนวนมาก] ควรจะอยู่ท้ายประโยค

ดังนั้น ข้อ ค. จึงควรเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

พิจารณาแบบปกติ เพื่อต้องการความแน่นอน
ข้อ ก. กับ ข้อ ค. มีข้อความแรกเหมือนกันคือ 2. รัฐและประชาชน  แต่เรียงในลำดับต่อมาแตกต่างกัน ดังนี้

แบบข้อ ก.  [2 4 1 3]
2. [รัฐและประชาชน] 4. [ได้รวมกันจัดตั้งโรงเรียน] 1. [เป็นจำนวนมาก] 3. [ในท้องถิ่นต่างๆ]

แบบข้อ ค. [2 3 4 1]
2. [รัฐและประชาชน] 3. [ในท้องถิ่นต่างๆ] 4. [ได้รวมกันจัดตั้งโรงเรียน] 1. [เป็นจำนวนมาก]

จะเห็นว่า ข้อ ค อ่านได้ราบรื่นไม่สะดุด ข้อ ค จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง 
สำหรับข้อ ก. นั้น ผิดเพราะ [ในท้องถิ่นต่างๆ] เป็นคำขยาย [รัฐและประชาชน] จึงควรอยู่ติดกัน

ตัวอย่างที่ 2
โจทย์ : 1. สมัยสุโขทัย 2. ปรากฏตามศิลาจารึกว่า 3. ชาวสุโขทัยไม่นิยมความเป็นทาส 4. เมื่อตรวจดูตามประวัติทาส 5. เห็นมีส่วนใหญ่ ทางกรุงศรีอยุธยา
ก.  1 3 2 4 5
ข.  4 2 1 3 5
ค.  2 1 3 4 5
ง.  5 4 3 2 1
จ.  3 4 5 2 1

วิเคราะห์
เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ข้อความที่เป็นเป็นลำดับแรกได้คือ 1. [สมัยสุโขทัย] และข้อความนี้ ไม่สามารถเป็นลำดับสุดท้ายได้
ดังนั้น ข้อ ง. กับ ข้อ จ. จึงผิดแน่นอน  ที่เหลือทั้งหมด ต้องเรียงข้อความเพื่อพิจารณา

แบบข้อ ก.  [1 3 2 4 5]
1. [สมัยสุโขทัย] 3. [ชาวสุโขทัยไม่นิยมความเป็นทาส] 2. [ปรากฏตามศิลาจารึกว่า] 4. [เมื่อตรวจดูตามประวัติทาส] 5. [เห็นมีส่วนใหญ่ ทางกรุงศรีอยุธยา]

แบบข้อ ข. [4 2 1 3 5]
4. [เมื่อตรวจดูตามประวัติทาส] 2. [ปรากฏตามศิลาจารึกว่า] 1. [สมัยสุโขทัย] 3. [ชาวสุโขทัยไม่นิยมความเป็นทาส] 5. [เห็นมีส่วนใหญ่ ทางกรุงศรีอยุธยา]

แบบข้อ ค. [2 1 3 4 5]
2. [ปรากฏตามศิลาจารึกว่า] 1. [สมัยสุโขทัย] 3. [ชาวสุโขทัยไม่นิยมความเป็นทาส] 4. [เมื่อตรวจดูตามประวัติทาส] 5. [เห็นมีส่วนใหญ่ ทางกรุงศรีอยุธยา]

จะเห็นว่า ข้อ ข อ่านได้ราบรื่นไม่สะดุด ข้อ ข จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง 

ตัวอย่างที่ 3
โจทย์ : 1. จากผลการศึกษาค้นคว้า 2. ดังกล่าว 3. การศึกษามีค่ายิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ 4. จะเห็นได้ว่า
ก. 1 2 3 4
ข. 1 2 4 3
ค. 4 3 1 2
ง. 2 3 4 1
จ. 4 1 2 3

วิเคราะห์
เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ข้อความที่เป็นลำดับท้ายไม่ได้ มี 3 ข้อคือ
1. จากผลการศึกษาค้นคว้า
2. ดังกล่าว
4. จะเห็นได้ว่า
ข้อความทั้ง 3 ข้อนั้น ต้องมีข้อความมาก่อนหน้า ถึงจะได้ความหมายที่ถูกต้อง

ต่อไปให้อ่านตัวเลือก จะเห็นว่า ข้อ ก. ข้อ ค. และ ข้อ ง. ผิดแน่ๆ เหลือให้เลือกอีกเพียง 2 ข้อ คือ ข้อ ข. กับ ข้อ จ.

ข้อ ข. กับ ข้อ จ. มีข้อความท้ายเหมือนกันคือ 3. [การศึกษามีค่ายิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ] แต่เรียงในลำดับก่อนหน้าแตกต่างกัน ดังนี้

แบบข้อ ข.  [1 2 4 3]
1. [จากผลการศึกษาค้นคว้า] 2. [ดังกล่าว] 4. [จะเห็นได้ว่า] 3. [การศึกษามีค่ายิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ]

แบบข้อ จ. [4 1 2 3]
4. [จะเห็นได้ว่า] 1. [จากผลการศึกษาค้นคว้า] 2. [ดังกล่าว] 3. [การศึกษามีค่ายิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ]

จะเห็นว่า ข้อ ข อ่านได้ราบรื่นไม่สะดุด ข้อ ข จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง 
สำหรับข้อ จ. นั้น ผิดเพราะ [จะเห็นได้ว่า] เป็นคำกริยา จึงไม่ควรมาอยู่ที่ต้นประโยค

ตัวอย่างที่ 4
โจทย์ : 1. ทุกคนควรหลีกเลี่ยง 2. เพราะว่า 3. ติดเป็นนิสัยได้เร็ว 4. การพนัน
ก. 1 2 3 4
ข. 2 3 4 1
ค. 4 2 3 1
ง. 1 3 4 2
จ. 4 1 2 3

วิเคราะห์
เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ข้อความที่เป็นลำดับท้ายไม่ได้ มี 2 ข้อคือ
2. เพราะว่า
4. การพนัน

ต่อไปให้อ่านตัวเลือก จะเห็นว่า ข้อ ก. ข้อ กับ ข้อ ง. ผิดแน่ๆ เหลือให้เลือกอีกเพียง 3 ข้อ คือ ข้อ ข. ข้อ ค และ ข้อ จ.
เมื่อพิจารณาข้อ 2. เพราะว่า ข้อความนี้ ก็ไม่ควรอยู่ต้นประโยค ดังนั้น ข้อ ข. ก็เป็นข้อที่ผิดด้วย เหลือตัวเลือกให้พิจารณาคือ ข้อ ค กับ ข้อ จ.

ข้อ ค. กับ ข้อ จ. มีข้อความแรกเหมือนกันคือ 4. [การพนัน] แต่เรียงในลำดับต่อมาแตกต่างกัน ดังนี้

แบบข้อ ค.  [4 2 3 1]
4. [การพนัน] 2. [เพราะว่า] 3. [ติดเป็นนิสัยได้เร็ว] 1. [ทุกคนควรหลีกเลี่ยง]

แบบข้อ จ. [4 1 2 3]
4. [การพนัน] 1. [ทุกคนควรหลีกเลี่ยง] 2. [เพราะว่า] 3. [ติดเป็นนิสัยได้เร็ว]

จะเห็นว่า ข้อ จ อ่านได้ราบรื่นไม่สะดุด ข้อ จ จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง 
สำหรับข้อ ค. นั้น ผิด เนื่องจากเรียงลำดับอย่างนั้น ทำให้ความหมายผิดไป

ตัวอย่างที่ 5
โจทย์ : 1. คือ คิดว่าจะได้ที่ไหนมาใช้ให้พอ 2. ในเวลาก่อนแต่งงานไซร้ 3. เมื่อแต่งงานแล้วมักจะต้องคิดถึงมากที่สุด 4. หญิงชายคู่ใดไม่ได้คิดถึงเรื่องเงินเลย
ก. 2 4 3 1
ข. 4 2 3 1
ค. 4 2 1 3
ง. 1 2 3 4
จ. 1 4 2 3

วิเคราะห์
เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ข้อความที่เป็นลำดับแรกไม่ได้ คือ 1. คือ คิดว่าจะได้ที่ไหนมาใช้ให้พอ
ต่อไปให้อ่านตัวเลือก จะเห็นว่า ข้อ ง. ข้อ กับ ข้อ จ. ผิดแน่ๆ เหลือให้เลือกอีกเพียง 3 ข้อ คือ ข้อ ก. ข้อ ข และ ข้อ ค.

พิจารณาแบบด่วน ในกรณีที่เวลาเหลือน้อย
เมื่อพิจารณาข้อ 2. [ในเวลาก่อนแต่งงานไซร้] ไม่ควรเป็นข้อความต้นประโยคได้ ดังนั้น ข้อ ก. ก็ผิดด้วย
เมื่อพิจารณาข้อ 3. [เมื่อแต่งงานแล้วมักจะต้องคิดถึงมากที่สุด] ไม่ควรเป็นข้อความท้ายประโยคได้ ดังนั้น ข้อ ค. ก็ผิดด้วย
ดังนั้น ข้อ ข. จึงควรเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

พิจารณาแบบปกติ เพื่อต้องการความแน่นอน
ต้องเรียงข้อความทั้งหมด เพื่อพิจารณา ดังนี้  

แบบข้อ ก.  [2 4 3 1]
2. [ในเวลาก่อนแต่งงานไซร้] 4. [หญิงชายคู่ใดไม่ได้คิดถึงเรื่องเงินเลย] 3. [เมื่อแต่งงานแล้วมักจะต้องคิดถึงมากที่สุด] 1. [คือ คิดว่าจะได้ที่ไหนมาใช้ให้พอ]

แบบข้อ ข. [4 2 3 1]
4. [หญิงชายคู่ใดไม่ได้คิดถึงเรื่องเงินเลย] 2. [ในเวลาก่อนแต่งงานไซร้] 3. [เมื่อแต่งงานแล้วมักจะต้องคิดถึงมากที่สุด] 1. [คือ คิดว่าจะได้ที่ไหนมาใช้ให้พอ]

แบบข้อ ค. [4 2 1 3]
4. [หญิงชายคู่ใดไม่ได้คิดถึงเรื่องเงินเลย] 2. [ในเวลาก่อนแต่งงานไซร้] 1. [คือ คิดว่าจะได้ที่ไหนมาใช้ให้พอ] 3. [เมื่อแต่งงานแล้วมักจะต้องคิดถึงมากที่สุด]
จะเห็นว่า ข้อ ข อ่านได้ราบรื่นไม่สะดุด ข้อ ข จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น