บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบการเรียงประโยค แบบเรียงตัวเลข ชุดที่ 7

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

โจทย์ข้อที่  1
1.  เรานักเรียนครูเพียรสอนแทบตาย
2.  สารพัดฝึกได้ดังใจหมาย
3.  เกิดเป็นคนเอาดีไม่ได้ก็อายลิง
4.  พวกลิงค่างกลางป่าจับมาหัด
ก.  4,3,2,1
ข.  4,2,1,3
ค.  3,1,4,2
ง.  1,4,3,2
จ.  1,2,4,3

โจทย์ข้อที่  2
1.  ความขาดตกบกพร่อง
2.  อาจจะแก้ไขให้ดีขึ้นได้
3.  ไม่ว่าจะเป็นด้านใดๆ
4.  ที่มีอยู่ในบ้านเมืองของเรา
5. อย่ามองดูด้วยความท้อแท้ใจ
ก.  1,4,3,5,2
ข.  1,2,3,4,5
ค.  3,5,1,4,2
ง.  5,3,1,2,4
จ.  1,4,5,2,3

โจทย์ข้อที่  3
1.  รั้วไม้ใบไผ่
2.  หลังคามุงกระเบื้องดินเผา
3.  เป็นบ้านไม้
4.  บ้านที่อยู่นั้น
ก.  1,3,4,2
ข.  2,3,1,4
ค.  3,2,1,4
ง.  4,1,2,3
จ.  4,3,1,2

โจทย์ข้อที่  4
1.  ทางไปสู่เกียรติศักดิ์
2.  หอมยวนชวนจิตไซร้
3.  ไป่มี
4.  จักประดับดอกไม้
ก.  1,2,3,4
ข.  1,4,2,3
ค.  2,4,3,1
ง.  3,1,2,4
จ.  4,3,2,1

โจทย์ข้อที่  5
1.  จากชนกลุ่มน้อยค่อยเติบใหญ่
2.  บรรพชนก่อร่างสร้างแผ่นดิน
3.  กว่าจะได้เป็นเขตประเทศถิ่น
4.  หลั่งเลือดรินรักษามาเนิ่นนาน
ก.  1,2,3,4
ข.  2,1,3,4
ค.  3,1,2,4
ง.  1,3,2,4
จ.  4,2,1,3

เฉลย

โจทย์ข้อที่  1
1.  เรานักเรียนครูเพียรสอนแทบตาย
2.  สารพัดฝึกได้ดังใจหมาย
3.  เกิดเป็นคนเอาดีไม่ได้ก็อายลิง
4.  พวกลิงค่างกลางป่าจับมาหัด
ก.  4,3,2,1
ข.  4,2,1,3
ค.  3,1,4,2
ง.  1,4,3,2
จ.  1,2,4,3

วิเคราะห์


โจทย์ข้อนี้เป็นกลอน 8 หรือกลอนสุภาพ  โปรดดูแผนผังของกลอน 8 ด้านล่าง



คำกลอนที่เป็นโจทย์ข้างต้นนั้น หาอ่านได้ทั่วๆ ไป  โดยสรุปข้อ ข. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง

โจทย์ข้อที่  2
1ความขาดตกบกพร่อง
2อาจจะแก้ไขให้ดีขึ้นได้
3ไม่ว่าจะเป็นด้านใดๆ
4ที่มีอยู่ในบ้านเมืองของเรา
5. อย่ามองดูด้วยความท้อแท้ใจ
ก.  1,4,3,5,2
ข.  1,2,3,4,5
ค.  3,5,1,4,2
ง.  5,3,1,2,4
จ.  1,4,5,2,3

วิเคราะห์

เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ข้อความที่เป็นลำดับแรกไม่ได้ คือ “อาจจะ”, “ไม่ว่า” และ “ที่”  ข้อความที่สามารถเป็นลำดับแรกได้คือ ข้อ 1 กับ ข้อ 5
1ความขาดตกบกพร่อง
5.  อย่ามองดูด้วยความท้อแท้ใจ
เมื่อพิจารณาในด้านความหมายแล้ว ข้อ 5 จะต้องมีข้อความมาก่อนหน้านั้น พูดง่ายๆ ก็คือ ข้อความที่ว่า “อย่ามองดูด้วยความท้อแท้ใจ” จะเป็นข้อความแรกไม่ได้
ดังนั้น ข้อความแรกก็คือ ข้อ 1.
1ความขาดตกบกพร่อง

ต่อไปเรามาหาข้อความในลำดับที่ 2  เมื่อพิจารณาจากคำตอบ คำตอบที่น่าจะถูกต้องคือ ข้อ ก. ข. และ จ. เพราะ ขึ้นต้นด้วยเลข 1.
ลำดับที่ 2 จากทั้ง 3 ข้อ มีเพียงข้อ 2. กับ ข้อ 4. เรามาลองเรียงข้อความกันดู ดังนี้
แบบที่ 1
1[ความขาดตกบกพร่อง]  2. [อาจจะแก้ไขให้ดีขึ้นได้]
แบบที่ 2
1[ความขาดตกบกพร่อง]  4. [ที่มีอยู่ในบ้านเมืองของเรา]
ถ้าพิจารณาเฉพาะข้อความในแบบที่ 1 กับ แบบที่ 2 ข้างต้น ข้อความทั้ง 2 แบบมีโอกาสเป็นไปได้  แต่ข้อ 4. นั้น เป็นประโยคขยาย ซึ่งตำแหน่งจะต้องอยู่ติดกับคำที่ประโยคนั้นขยายอยู่
ดังนั้น ข้อความในแบบที่ 2 ถูกต้อง
เมื่อดูจากคำตอบ โอกาสที่จะเป็นข้อถูกมีเพียงข้อ ก. กับ ข้อ จ. เราลองมาเรียงข้อความกันดู

ข้อ ก. (1,4,3,5,2)
1[ความขาดตกบกพร่อง]  4. [ที่มีอยู่ในบ้านเมืองของเรา]  3[ไม่ว่าจะเป็นด้านใดๆ]  5[อย่ามองดูด้วยความท้อแท้ใจ]  2[อาจจะแก้ไขให้ดีขึ้นได้]
ข้อ จ. (1,4,5,2,3)
1[ความขาดตกบกพร่อง]  4. [ที่มีอยู่ในบ้านเมืองของเรา]  5[อย่ามองดูด้วยความท้อแท้ใจ]  2[อาจจะแก้ไขให้ดีขึ้นได้]  3[ไม่ว่าจะเป็นด้านใดๆ]

โดยสรุป ข้อ ก. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ในการเรียงแบบข้อ จ.  ประโยคขยาย 3. ไม่ว่าจะเป็นด้านใดๆ  อยู่ผิดตำแหน่ง


โจทย์ข้อที่  3
1.  รั้วไม้ใบไผ่
2.  หลังคามุงกระเบื้องดินเผา
3.  เป็นบ้านไม้
4.  บ้านที่อยู่นั้น
ก.  1,3,4,2
ข.  2,3,1,4
ค.  3,2,1,4
ง.  4,1,2,3
จ.  4,3,1,2

วิเคราะห์

เมื่ออ่านโจทย์แล้วพบว่า เป็นเรื่องของ “บ้าน” หลังหนึ่ง ดังนี้ ข้อความแรกต้องเป็นข้อ 4. บ้านที่อยู่นั้น

เมื่ออ่านคำตอบ โอกาสที่จะเป็นคำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง. กับ จ. เรามาลองเรียงข้อความกันดู

ข้อ ง. (4,1,2,3)
4[บ้านที่อยู่นั้น]  1[รั้วไม้ใบไผ่]  2.  [หลังคามุงกระเบื้องดินเผา]  3.  [เป็นบ้านไม้]

ข้อ จ. (4,3,1,2)
4[บ้านที่อยู่นั้น]  3.  [เป็นบ้านไม้]  1[รั้วไม้ใบไผ่]  2.  [หลังคามุงกระเบื้องดินเผา]

เมื่อพิจารณาจากทั้ง 2 ข้อนั้น ข้อ จ. ถูกต้อง
ในความเห็นส่วนตัว  ผมว่าน่าจะเรียงแบบนี้
4[บ้านที่อยู่นั้น]  3.  [เป็นบ้านไม้]  2.  [หลังคามุงกระเบื้องดินเผา]  1[รั้วไม้ใบไผ่] 

โจทย์ข้อที่  4
1.  ทางไปสู่เกียรติศักดิ์
2.  หอมยวนชวนจิตไซร้
3.  ไป่มี
4.  จักประดับดอกไม้
ก.  1,2,3,4
ข.  1,4,2,3
ค.  2,4,3,1
ง.  3,1,2,4
จ.  4,3,2,1


วิเคราะห์


ข้อความดังกล่าวเป็นโคลงสามดั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลจากภาษิตของฝรั่งเศสชื่อ ลาฟองเตน ที่ว่า
“Aucum chemin de fleurs ne conduit a' la gloire”
พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตีพิมพ์ครั้งแรกใน "ดุสิตสมิต" เล่ม ๔  ฉบับที่ ๔๒  วันที่  ๔  ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๖๒
โรงเรียนเตรียมทหารได้นำไปเป็นคำขวัญของโรงเรียน ดังนี้



ข้อ ข. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง

โจทย์ข้อที่  5
1.  จากชนกลุ่มน้อยค่อยเติบใหญ่
2.  บรรพชนก่อร่างสร้างแผ่นดิน
3.  กว่าจะได้เป็นเขตประเทศถิ่น
4.  หลั่งเลือดรินรักษามาเนิ่นนาน
ก.  1,2,3,4
ข.  2,1,3,4
ค.  3,1,2,4
ง.  1,3,2,4
จ.  4,2,1,3

วิเคราะห์

ข้อความดังกล่าวเป็นกลอนสุภาพหรือกลอน 8  ดูแผนผังด้านบน

คำตอบที่ถูกต้องข้อ ข้อ ง.